ผู้คนส่วนใหญ่มักจะคิดถึงข้าวขาวธรรมดาเมื่อพูดถึงธัญพืช และมื้ออาหารอาจไม่ครบถ้วนหากขาดคาโบไฮเดรตนี้ไป อย่างไรก็ตาม การลดน้ำหนักโดนการรับประทานธัญพืชที่หลากหลายนั้นจะช่วยเพิ่มรสชาติและคุณค่าทางโภชนาการทางอาหารให้กับแต่ละมื้อของคุณได้เป็นอย่างดี ในอดีตนั้นการบริโภคธัญพืชของบรรพบุรุษของเรานั้นถือว่ามีความหลากหลายกว่าในปัจจุบันมาก และธัญพืชเหล่านั้นมีการบริโภคที่น้อยลงเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
หากคุณกำลังลดน้ำหนักและต้องการบริโภคธัญพืชมากขึ้น แต่ไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มจากตรงไหน ลองดูเมนูง่ายๆที่คุณสามารถทำเองได้ด้วยการเตรียมวัตถุดิบต่างๆได้เองและรับประทานคู่กับเมนูข้าว สลัด หรือรับประทานเป็นอาหารเช้าคู่กับคอร์นเฟลคเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นนั่นเอง
เมล็ดผักโขม นั้นมีโปรตีนสูงและปราศจากกลูเตนที่มีรสชาติคล้ายถั่วและมีกลิ่นหอม
เมล็ดผักโขมนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีอ่อนลงและเนื้อจะเละเมื่อสุก หากคุณไม่ชอบรสสัมผัสที่เละ คุณสามารถนำเมล็กผักโขมไปอบหรือต้มได้นั่นเอง
คุณสามารถคั่วเมล็ดผักโขมบนกระทะเพื่อให้เมล็ดผักโขมแตกออกได้ ถือเป็นเมนูทานเล่นเพลินๆที่คุณจะต้องติดใจ หรือจะนำไปโรยบนเมนูสลัดก็อร่อยไม่แพ้กัน อีกหนึ่งวิธีคือการต้มเมล็ดผักโขมปริมาณ ½ ถ้วยกับน้ำแอปเปิ้ล 1½ ถ้วย เพียงเท่านี้คุณก็จะได้รับประทานเมนูมื้อเช้าแสนอร่อย
เมล็ดผักโขมนั้นสามารถทำไปปรุงกับัญพืชชนิดอื่นๆเช่นข้าวกล้องได้เพื่อเพิ่มรสชาติของถั่วที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เพียงแค่ใส่เมล็ดผักโขม ¼ แทนที่ส่วนของข้าวกล้อง คุณก็จะได้เมนูข้าวที่มีประโยชน์ต่อร่างกายนั่นเอง
ควินัว นั้นถือเป็นธัญพืชที่มีมาตั้งแต่โบราณที่ถือว่าเป็นวัตถุดิบหลักของชาวแอสเทคและชาวมายัน ควินัวนั้นถือว่าเป็นอาหารที่มีคุณประโยชน์สูงมากเนื่องจากมีแหล่งพลังงานจากโปรตีนที่ยอดเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นเหล็ก แมกนีเซียม และไฟเบอร์ อีกทั้งยังสามารถนำมาประกอบอาหารได้ง่ายและมีรสชาติที่อร่อยที่สามารถใช้แทนข้าวขาวได้อีกด้วย
ให้ทำการล้างเมล็ดควินัวก่อนนำมาประกอบอาหารทุกครั้งเนื่องจากเมล็ดควินัวนั้นจะมีสารเคลือบเมล็ดตามธรรมชาติที่มีรสขม สามารถหุงได้เหมือนหุงข้าว และเพื่อให้ได้รสชาติที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถใส่น้ำสต๊อกไก่หรือน้ำต้มผักลงไปแทนที่น้ำเปล่านั่นเอง เมล็ดควินัวนั้นสามารถดูดซับน้ำได้เป็นอย่างดี และหลายๆคนมักใช้เป็นฐานในการอบเนื้อสัตว์และเนื้อปลานั่นเอง
ใส่เมล็ดควินัว 1 ถ้วยเข้ากับน้ำ 2 ถ้วยลงในหม้อหุงข้าวและทำการหุงได้ทันที
ข้าวบาร์เล่ นั้นถือเป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบที่มีมาตั้งแต่ยุคโบราณ สามารถนำไปเป็นส่วนผสมในการทำซูปได้เป็นอย่างดีเนื่องจากมีรสสัมผัสที่สามารถเคี้ยวได้และมีความนุ่มในตัวเอง ใส่ข้าวบาร์เล่หรือลูกเดือยลงไปในเมนูซุปหรือสตูว์เพื่อเพิ่มรสสัมผัสและสารอาหารได้อย่างยอดเยี่ยม
ข้าวบาร์เล่นั้นมีโปรตีนและไฟเบอร์สูง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือแบบที่มีเปลือกหุ้มและไม่มีเปลือกหุ้ม ข้าวบาร์เล่แบบที่มีเปลือกหุ้มนั้นจะยังมีสารอาหารและคุณประโยชน์จากเปลือกคงไว้ โดยที่ให้รสชาติความเป็นถั่วจากเปลือกสีน้ำตาลอ่อน ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าเมื่อเทียบกับแบบที่ไม่มีเปลือกหุ้มนั่นเอง
สเปลท์ นั้นถือเป็นอีกหนึ่งประเภทของต้นข้าวที่มีรสชาติคล้ายแป้งสาลีที่ได้รับความนิยมในแถบยุโรป แต่ก็กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งเมื่อเทรนด์การเลือกรับประทานเพื่อดูแลสุขภาพนั้นกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง สเปลท์นั้นมีรสสัมผัสที่สามารถเคี้ยวได้ แต่แข็งกว่าและให้กลิ่นถั่วที่เข้มข้นมากกว่า อีกทั้งยังมีเนื้อนุ่มกว่าเมื่อต้มสุกแล้ว
สเปลท์นั้นสามารถใช้แทนข้าวได้เลย ยกตัวอย่างเช่นในเมนูริสซอสโต้ผัก ชีส และเลม่อน อีกทั้งยังสามารถจับคู่สเปลท์กับพาสต้าหรือทานคู่กับเครื่องเทศต่างๆก็สามารถอร่อยได้เช่นกัน วิธีการปรุงสุกสเปลท์ก็สามารถทำได้ง่ายๆโดยการใช้สเปลท์ 1 ถ้วยผสมกับน้ำเปล่า 4 ถ้วย คุณสามารถแช่ไว้ข้ามคืนเพื่อให้ได้รสสัมผัสของสเปลท์ที่นุ่มยิ่งขึ้นนั่นเอง
ข้าวกล้อง และ ข้าวป่า นั้นถือเป็นธัญพืชที่มีลักษณะใกล้เคียงกับข้าวขาวมากที่สุด และผู้คนส่วนใหญ่คุ้นเคยมากที่สุดอีกด้วย
ข้าวกล้องนั้นคือข้าวที่มีเปลือกหุ้มคาอยู่ มีโปรตีนและไฟเบอร์สูงที่สามารถนำไปประกอบอาหารได้เสมือนกับข้าวขาว แต่ใช้เวลาในการหุงสุกนานกว่าและมีรสสัมผัสที่แข็งกว่าเล็กน้อย สามารถหุงข้าวกล้อง 1 ถ้วยต่อน้ำเปล่า 2½ ถ้วย
ข้าวป่านั้นมีรสชาติที่เข้มข้น มีไฟเบอร์สูง ให้รสสัมผัสของถั่วที่ชัดเจนกว่า และมีคุณประโยชน์ที่สมบูรณ์กว่าเช่นกัน สามารถหุงข้าวป่า 1 ถ้วยต่อน้ำเปล่า 3 ถ้วย
ด้วยความที่เป็นธัญพืชที่มีเนื้อแน่น ทำให้คนนิยมนำไปใช้ในการยัดไส้ไก่งวง และโรยหน้าสลัดโดยที่เนื้อไม่เละนั่นเอง
ข้าวฟ่าง นั้นคือธัญพืชที่มีลักษณะคล้ายกับอาหารนก (ซึ่งจริงๆแล้วก็คืออาหารนกนั่นแหละ) และมีรสชาติอร่อย รสสัมผัสบางเบา และมีรสหวานที่สามารถนำไปทานคู่กับอาหารได้หลากหลายเมนูในชีวิตประจำวัน
มีธาตุเหล็ก วิตามินบี แคลเซียมสูง ปราศจากกลูเตน และยังมีรสชาติเหมือนกับข้าวโพด โดยการปรุงสุกคือใช้เมล็ดข้าวฟ่าง 1 ถ้วยต่อน้ำเปล่า 2 ถ้วยนั่นเอง หากคุณกำลังมองหามื้อเช้าเบาๆที่อร่อยและดีต่อสุขภาพ สามารถเติมน้ำเข้าไปอีก 1 ถ้วยและต้มเป็นเวลาประมาณ 15 นาทีให้เข้ากัน จากนั้นทิ้งไว้อีก 10 นาทีให้เมล็ดข้าวฟ่างพองตัวและส่งกลิ่นหอม นอกจากนี้ยังสามารถโรยเมล็ดข้าวฟ่างบนคุ้กกี้ มัฟฟิ่น หรือขนมปังเพื่อเพิ่มความกรอบได้อีกด้วย
และตอนนี้คุณก็ได้ทำความรู้จักกับธัญพืชประเภทต่างๆไปแล้ว ถึงตอนนี้ก็สามารถเลือกเมนูที่คุณอยากรับประทานเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นกันได้เลย!